ป่าชายเลนนับว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศทางทะเลของไทย เรารู้กันอยู่แล้วว่าป่าชายเลนนับว่าเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของสัตว์น้ำ ว่าแต่เรื่องราวของป่าชายเลนมีมากกว่านั้นอีก วันนี้เราจะนำเสนอเรื่องราวของป่าชายเลนเพื่อให้รู้จักรักษาต้นกำเนิดของระบบนิเวศทางทะเลต่อไป ป่าชายเลนค้นพบโดยใคร แม้ว่าป่าชายเลนจะมีมานานแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าใครเป็นคนค้นพบ ตามประวัติกล่าวว่าผู้ค้นพบป่าชายเลนคือ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักบุกเบิกยุคกระโน้นเลย เค้าบอกว่า โคลัมบัส พบป่าชายเลนจากการไปสำรวจฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา อีกคนหนึ่งที่ค้นพบป่าชายเลนคือ เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ เค้าบันทึกว่าค้นพบป่าชนิดเดียวกันนี้จากปากแม่น้ำของประเทศตรินิแดด และเกียนา คำที่เรียกป่าชายเลน ป่าชายเลนในภาษาไทยนั้น มีคำเรียกแตกต่างไปในภาษาอื่น อย่างเช่น คำว่า mangue เป็นคำที่มาจากภาษาโปรตุเกส พวกเค้าหมายถึง กลุ่มสังคม หรือระบบนิเวศ ของพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินเลน คำนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายบริเวณลาตินอเมริกา นอกจากนั้นจะเรียกป่าชายเลนตามภาษาของตัวเอง อย่างเช่น มาเลเซียใช้คำว่า manggi-manggi ประเทศฝรั่งเศสเรียกว่า mangrove เป็นต้น ป่าชายเลนที่ใหญ่สุดในโลก แม้ว่าป่าชายเลนจะมีอยู่มากหากนับทั้งโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตร้อนเป็นหลัก แต่ที่ไหนคือป่าชายเลนใหญ่ที่สุด คำตอบก็คือ ป่าชายเลนซันดาร์บานส์ ป่าชายเลนของปากแม่น้ำคงคาของประเทศอินเดียกับ บังคลาเทศ ใหญ่สุด ป่าแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศของแม่น้ำคงคาอย่างมาก ปัจจุบัน ซันดาร์บานส์ ได้ถูกยกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโกอีกด้วย […]